ถ้าเป็นก่อนหน้านี้ช่างมีทางเลือกเดียวคือรื้อกระเบื้องแล้วปูใหม่ แต่ฟังให้ดีนะครับ ถ้าทำแบบนี้กับสระที่โครงสร้างมีปัญหาก็เสียเงินเปล่า เพราะจะมีรอย Crack เกิดขึ้นเรื่อยๆ น้ำก็หาทางไปได้เรื่อยๆ เหมือนเดิม สำหรับช่างบางคนอาจจะทากันซึมไว้ก่อนปูกระเบื้องก็เป็นทางเลือกที่ดีมาก แต่ถ้าใช้กันซึมที่ไม่ทนการแช่ขังของน้ำอะไรจะเกิดขึ้น ลองคิดภาพกันซึมที่คุณภาพต่ำที่แช่น้ำไม่ได้นานแล้วบวกกับการใช้ยาแนวธรรมดาที่สึกกร่อนได้เร็ว น้ำก็จะไปขังอยู่หลังกระเบื้องแล้วทำให้กันซึมเปื่อย สุดท้ายแล้วก็จะเกิดปัญหาอีก
อีกวิธีคือการทากันซึมทับสระว่ายน้ำซึ่งง่ายและเร็วและได้ผลดีมากแต่ถ้าเลือกกันซึมที่แช่น้ำไม่ได้และการยึดเกาะบนกระเบื้องต่ำก็เสียเงินทิ้งอีกเหมือนเดิม ยกเว้นว่าใช้ Polyurea ซึ่งน้อยคนจะมีโอกาสได้ใช้เพราะแพงมาก แถม Polyurea แบบเดิมการยึดเกาะบนกระเบื้องก็แย่มากต้องขัดผิวกันให้หยาบถึงจะเกาะได้ แต่ตอนนี้เรามี Polyurea ที่ตอบโจทย์นั้นแล้ว ยึดเกาะได้ยอดเยี่ยมบนกระเบื้องและไม่ต้องใช้เครื่องพ่นในราคาที่ถูกกว่ามาก
แต่ก่อนจะใช้ผลิตภัณฑ์เราต้องหาสาเหตุของสระรั่วให้เจอก่อน สิ่งแรกที่ต้องทำคือปิดระบบน้ำทั้งหมดแล้วปล่อยน้ำให้ไหลไปเรื่อยๆ จนหยุดนิ่งห้ามเติมน้ำเด็ดขาดเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าจุดไหนรั่ว ถ้าน้ำหยุดตรงไหน ก็บริเวณนั้นแหละที่น่าสงสัย ถ้าน้ำไม่เกลี้ยงสระเลยถือว่าโชคดีเพราะซ่อมผนังค่อนข้างง่าย พอเจอจุดที่น้ำหยุดให้ตรวจสอบตามไฟสระหรือวาล์วน้ำต่างๆ ภายในสระ ถ้าหาไม่เจอก็สันนิษฐานว่าผนังสระซึมไว้ก่อนแล้วทากันซึมให้ทั่วสระส่วนที่เหนือน้ำ พอเสร็จขั้นตอนนี้ก็ค่อยๆ เติมน้ำทีละประมาณ 10-30 cm แล้วปล่อยทิ้งไว้ว่าหายหรือไม่ ถ้าไม่หายต้องทำซ้ำแบบเดิมอีกครั้ง
แต่ถ้าปัญหาเกิดจากพื้นสระ ถ้าไม่เกิดจาก Floor Drain หรือท่อใต้สระแตกก็ยังมีโอกาสซ่อมเองได้แค่ทากันซึมทับลงไปเช่นกัน ถ้ายังไม่หายคือเกิดจากท่อใต้สระว่ายน้ำคราวนี้คืองานใหญ่มากต้องรื้อพื้นแทบทั้งหมดแต่ส่วนมากไม่เลวร้ายถึงขั้นนั้น ถ้าเป็นที่ผนังสระรั่วซึมก็ซ่อมเองได้เลย
แต่ก่อนทากันซึมให้ยาแนวให้เต็มทุกจุดก่อนเพื่อความปลอดภัยและประหยัด ไม่งั้นน้ำยาจะไหลเต็มร่องซึ่งจะสิ้นเปลืองมาก
ซ่อมหรือรีโนเวทประหยัดกว่าทำใหม่หลายเท่า
Comentarios